สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)

                   
     หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: E-book) เป็นหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E - book reader) ได้
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป
            ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่รูปแบบของการสร้างและการใช้งาน ดังนี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสือทั่วไป
ไม่ใช้กระดาษ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)
ใช้กระดาษ
สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
มีข้อความและภาพประกอบธรรมดา
สามารถใส่เสียงประกอบได้
ไม่มีเสียงประกอบ
สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update) ได้ง่าย
สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ยาก
สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปยังข้อมูลภายนอกได้
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
มีต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
มีต้นทุนการผลิตสูง
ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ และสั่งพิมพ์ผลได้
สามารถเปิดอ่านจากเล่ม อ่านได้อย่างเดียว
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
สามารถอ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม
สามารถพกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ และสามารถเข้าถึงโดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลา
สามารถพกพาลำบาก และต้องเดินทางไปใช้ที่ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ


เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

            เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ดังนี้

            1.  ฮาร์ดแวร์   คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ปัจจุบันได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะที่พกพาได้ มีรูปทรงขนาด และราคาให้เลือกมากขึ้น โดยใช้กับซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านซึ่งสามารถสั่งซื้อ หรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต

            2.  ซอฟต์แวร์  ซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบที่บริษัทผลิต ส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต เช่น อะโดบี รีดเดอร์ (Adobe Reader), Microsoft Reader, Palm Reader และ DNL Reader เป็นต้น

            3.  ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe FrameMaker, Adobe PageMaker, Adobe InDesign, Adobe Acrobat, Adobe Acrobat Capture, The Read in Microsoft Reader add-in for Microsoft Word, The Palm Ebook, Studio authoring tool, DesktopAuthor, FlipAlbum เป็นต้น

            4.  การจัดการซอฟต์แวร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการควบคุมระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe Content Server 3, Microsoft Digital Asset Server, Palm, Retail Encryption Server Software เป็นต้น

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-book และ E-magazine
        โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
            1. โปรแกรม Flip Album
            2. โปรแกรม Desktop Author
            3. โปรแกรม Flash Album Deluxe       
            ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเปิดเอกสารได้  ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้
            1. โปรแกรม Flip Album โปรแกรมสำหรับอ่านคือ Flip Viewer
            2. โปรแกรม Desktop Authoor โปรแกรมสำหรับอ่านคือ DNL Reader
            3. โปรแกรม Flash Album Deluxe      
       โปรแกรม Flash Album เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำสื่อ e-Book ที่สามารถใส่เนื้อหาและรูปแบบต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถตกแต่ง e-Book ให่สวยงามด้วยลูกเล่นต่างๆ ของโปรแกรมได้อีกด้วย 
   การสร้าง E-book ด้วย Flip Album
            หนังสืออิเล็คทรอนิคส์ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปลักษณ์และเอกลักษณ์ให้หน้าสนใจ อีกทั้ง มีลักษณะคล้ายกับหนังสือจริงๆ โดยเราสามารถสร้าง E-book ได้จากหลายโปรแกรม หนึ่งในนั้นคือโปรแกรม   Flip Album (สามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้จากเว็บไซต์ http:www.flipalbum.com/products/fat/) ซึ่งข้อมูลที่สามารถใส่ลงในโปรแกรม Flip Album ได้ มีทั้งเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งไฟล์วีดีโอ และไฟล์เสียง ดังนั้น ควรจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจัดเก็บรวมกันไว้ใน Folder ที่ต้องการ สร้าง เพื่อความสะดวกในการจัดทำ E-book 
การสร้าง E-book ด้วยโปรแกรมการบริหารจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์
             เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับอ่านบนเว็บ ได้อย่างรวดเร็วด้วยโปรแกรมจัดการหนังสือผ่านเว็บไซต์ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E-Magazine)โดยการนำเข้าไฟล์ในรูปแบบ Acrobat นำเข้าผ่านทางเว็บไซต์ได้ทันที เท่านี้ก็สามารถเผยแพร่ได้แล้ว 
            จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การสร้างหนังสือหรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านได้บนเว็บไซต์ หรือในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับ E-learning มีโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนหลายโปรแกรม แต่ที่ได้รับความนิยม คือ โปรแกรม Lecture Maker และ Flip Album ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนเว็บได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นรูปแบบมัลติมีเดีย ที่นำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และให้ผู้เรียนได้โตตอบ อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานอีกด้วย และที่นิยมมากขณะนี้คือโปรแกรมบริหารจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บในรูปแบบ E-Magazine นั่นเอง รายละเอียดจะกล่าวในโอกาสต่อไป

 ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

            ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ

            1.  มาตรฐานการผลิต  กล่าวคือเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ตลอดจนถึงการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ล้วนมีผลต่อการผลิตเนื้อหา (Content) ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ห้องสมุดในกรณีที่ห้องสมุดดำเนินการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เอง และดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาให้บริการแก่สมาชิก

            2.  มาตรฐานการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต  ได้แก่ ปัญหาทางด้านราคาที่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายที่ใช้เทคโนโลยีที่ต่างชนิดกัน ปัญหาการสืบค้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลังและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลัง ซึ่งอาจมีผลต่อการจัดซื้อสิ่งพิมพ์อีก 1 ชุดเพื่อเย็บรวมเล่มหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระทบต่อการตัดสินใจในการจัดซื้อ และการเตรียมงบประมาณในปีถัดไป

            3.  ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และสิทธิ์ผู้ใช้  ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปในประเด็นนี้ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เช่น การกำหนดสิทธิ์ผู้สามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิง เป็นต้น

 http://th.wikipedia.org/ 


สื่อประสม (Multi Media)

สื่อประสม  (Multi Media)
                สื่อประสม  หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง 
สื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม  คือ
              • สื่อประสม (Multimedia 1)  เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น สื่อหลายแบบ
               • สื่อประสม (Multimedia 2)  เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
ประเภทของสื่อประสม
อาจจำแนกตามจุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ได้ดังนี้
1. จำแนกตามจุดมุ่งหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                              
1.1 ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง สื่อประสมประเภทนี้มักอยู่ในรูปของสื่อหลายชิ้นมาอยู่ร่วมกัน แล้วใช้สอนได้หลายเรื่องเรียกว่า "ชุดอุปกรณ์" (Kit) เช่น ชุดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ใช้สอนการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าก็ได้ สอนการผสมสารเคมีบางอย่างเพื่อพิสูจน์สมการเคมีก็ได้         
                              1.2 ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่างประเภทนี้มักจะอยู่ในรูปสื่อหลายชนิดมารวมกันแต่สอนได้เพียงเรื่องเดียว เรียกว่า "ชุดการสอน"  (Learning package)
2. จำแนกตามลักษณะของสื่อและลักษณะการใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                               2.1
การสอนโดยใช้สื่อประสม เป็นการสอนที่ใช้สื่อหลายอย่าง ทั้งสื่อที่เป็นวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ        
                                2.2 การเสนอสื่อประสม (Multi-media presentation) เป็นการเสนอสื่อประเภทฉาย เช่นสไลด์ ภาพยนตร์ควบคู่กับสื่อเสียง

การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา
               
สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น  เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน   เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย  สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบยั้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้   ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
                 1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ   เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น
               2. การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
               3. สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

ประโยชน์ของสื่อประสม
สื่อประสมที่ผ่านการทดสอบและปรับปรุงแล้ว จะให้คุณค่าที่น่าเชื่อได้หลายประการ ดังนี้
            1. ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาตามความสามารถและความสนใจจากสื่อหลายประเภท และได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
            2. ช่วยลดเวลาการเรียนและการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่ประสิทธิภาพการเรียนไม่ลดลง
            3. ช่วยเพิ่มพูนกระบวนการเรียนเพื่อรอบรู้และลดปัญหาการสอบตก
            4. ช่วยในการประเมินผลการสอนและการปรับปรุงการสอน

ข้อจำกัดในการใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษา
1. ค่าใช้จ่าย สื่อประสมเพื่อการศึกษาเป็นสื่อที่มีราคาแพง
2. พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สืบเนื่องมาจากการพัฒนา และใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่สูง
3. การเรียนรู้ สื่อประสมเพื่อการศึกษานี้เป็นสื่อประเภทอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการหาความรู้ผ่านประสบการณ์เทียม ไม่ใช่จากการลงมือทำเอง สัมผัสและแก้ปัญหาต่างๆ ตามสภาพความความเป็นจริง
4. พัฒนาการของพฤติกรรมและอารมณ์ส่วนบุคคล สื่อประสมเพื่อการศึกษาเป็นสื่อชนิดโต้ตอบได้ โดยผ่านการใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นบนจอทันที
5. ข้อมูลและเนื้อหาที่ต้องควบคุม เนื่องจากสื่อประสมในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะอยู่บนแผ่นซีดีรอมหรือบนอินเทอร์เน็ต ต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างมาก เช่น ธุรกิจข่าวสาร ธุรกิจบันเทิงต่างๆ
6. พัฒนาการของพฤติกรรมทางสังคม ในขณะที่มีแนวโน้มการใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวางในระบบการศึกษาของนานาประเทศ
7. เอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาที่สำคัญคือ ยังไม่สามารถผลิตสื่อใช้เองได้ในประเทศไทย แต่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ สื่อประสมบนอินเทอร์เน็ตก็เป็นภาษาอังกฤษแทบทั้งหมด ปัญหานี้ทำให้เกิดว่า คนไทยจะเรียนรู้จากสื่อที่ผลิตโดยต่างประเทศนี้ ย่อมไม่ใช่ความรู้ที่เกี่ยวกับประเทศไทย หรือความรู้ที่ได้จากมุมมองของคนไทยและวัฒนธรรมไทย

แหล่งอ้างอิง  -   www.find-docs.com

นวัตกรรม หญ้าแฝก

หญ้าแฝก (อังกฤษ:Vetiver Grass ;ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vetiveria Zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย มีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆ เกษตรกรไม่ต้องดูแลหลังการปลูกมากนักและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆอีกด้วยเป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.มีส่วนกว้าง 5-9 มม. สามารถขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้
สายพันธุ์
หญ้าแฝกมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ
  • หญ้าแฝกดอน รากไม่มีกลิ่น , ใบโค้งงอ , สุง 100-150 เซนติเมตร
  • หญ้าแฝกหอม มีรากที่มีกลิ่นหอม , ใบยาวตั้งตรง , สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร
โดยมีคุณสมบัติพิเศษดังนี้
  • ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
  • อนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน
  • ป้องกันความเสียหายของบันไดของดิน
  • ช่วยในการฟื้นฟูดิน
[แก้] หญ้าแฝกกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 IECA ได้มีมติถวายรางวัล The International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝก ชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (award of recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก
http://th.wikipedia.org

นวัตกรรม การทำฝนเทียม

การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน[
สารเคมีที่ใช้ในการทำฝนเทียม
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemical) ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ
  • แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
  • แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride; CaCl2)
  • แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide; CaO)
สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic Chemicals) ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ
  • ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
  • แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
  • น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))
สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นประการเดียว
  • เกลือ (Sodium chloride; NaCl)
  • สารเคมีสูตร ท.1
การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน[2]
http://th.wikipedia.org

นวัตกรรมล่าสุดไหมพรม

บีทูเอส เปิดตัวนวัตกรรมล่าสุดไหมพรม Katia KREA พร้อมชวนคนดังร่วมถักหมวกไหมพรมถวายพระสงฆ์

เทรนด์กระแสงานแฮนด์เมดกำลังมาแรง จึงไม่น่าแปลกใจ ที่คนรุ่นใหม่ จะหันมาสนใจกับเรื่อง เย็บ ปัก ถัก ร้อย มากขึ้น ยิ่งเข้าหน้าหนาว และในเทศกาลแห่งการมอบของขวัญแบบนี้ ล่าสุด บีทูเอส โดย ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีทูเอส จำกัด ร่วมกับ ภิญญ์ โดย แพทย์หญิงบุษยา เตชะเสน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ตแอนด์เทคโนโลยี จำกัด จัดงาน “B2S & PINN SHOP Enjoy Winter” ส่งเสริมให้คนไทย เรียนรู้ งานประดิษฐ์ งานฝีมือ เพื่อเป็นงานอดิเรก หรือสร้างรายได้ และร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม ถักหมวกถวายพระสงฆ์ พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมล่าสุดของโลก ครั้งแรกในไทย ไหมพรม Katia KREA (คาเธีย เครีย) บนลานน้ำแข็ง ด้านหน้า บีทูเอส สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็วๆ นี้

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีทูเอส จำกัด กล่าวว่า บีทูเอส และภิญญ์ จัดงานครั้งนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คนไทย ผู้ที่ชื่นชอบ และรักงานประเภทฝีมือ ที่ต้องการประดิษฐ์ชิ้นงานพิเศษ มีโอกาสเห็นไอเดียใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากไหมพรม ในต่างประเทศ เช่น ไหมพรม คาเธีย เครีย ซึ่งสามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือถักทอใดๆ เพราะผลิตจาก Wool 25% Polyacryl 75% ดีไซน์เป็นตาข่ายบางๆ บรรจุใยนุ่มๆ อยู่ภายในเส้นไหม สามารถจัดทำเป็นชิ้นงาน ผ้าพันคอแบบเท่ห์ , แบบดอกไม้หวาน หรือทำเป็นกระเป๋าเก๋ ๆ ตกแต่งปลายแขนเสื้อหนาวตัวเก่าได้ทันที

นอกจากนี้ในงาน ทางภิญญ์ ยังได้สนับสนุนไหมพรมสีจีวรพระ พร้อมอุปกรณ์ เพื่อเชิญชวนให้ทั้งมือใหม่ มือเก่า งานฝีมือต่างๆ เลือกถักตามความถนัด มาช่วยกันถักหมวกถวายพระสงฆ์ มอบให้วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่

โดยเซเลบริริตี้ อาทิ หมูตั้งม.ล.อรรถดิส ดิสกุล , เอ็ม-ศิรประภา จีรพันธุ์ กิ๊ฟ-สรัญทร เตชะไพบูลย์ ร่วมกันจัดทำหมวกถวายพระสงฆ์ ร่วมด้วย ดารานักแสดง ที่มาอวดโฉมแฟชั่นโชว์ ไหมพรม Katia KREA คาเธีย เครียในไอเดียสุดเก๋
เอ็ม - ศิรประภา จีระพันธุ์ เผยว่า งานประดิษฐ์ เย็บ ปัก ถัก ร้อย เคยทำมาก่อนและชอบมาก เพราะเป็นการฝึกสมาธิ ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ และภูมิใจมากเมื่อผลงานทำเสร็จแล้ว อยากทำที่สุด เป็นผ้าพันคอ เพราะจะได้มอบให้คุณแม่ เนื่องจากเดินทางบ่อยๆ เวลาใช้ก็จะได้นึกถึงกัน ยิ่งตอนนี้ทำง่ายกว่ารุ่นคุณแม่ อุปกรณ์เครื่องทุ่นแรง มีใหม่ๆ เยอะ จึงอยากให้คนไทย ที่ชอบงานด้านนี้ นอกจากทำของขวัญให้ตนเองแล้ว มาร่วมกันจัดทำหมวกถวายพระสงฆ์ ได้บุญ แล้วฝึกฝีมือไปด้วยเลยคะ

ส่วนกิ๊ฟ-สรัญทร เตชะไพบูลย์ บอกว่า เป็นคนใช้เวลาว่างในการทำงานฝีมือเช่นนี้อยู่แล้ว ช่วยผ่อนคลาย หายเครียดเคยทำเป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ให้คุณยาย คุณแม่ ซึ่งจะชอบมากพิเศษเป็นพวกร้อยสร้อย ถักผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เพราะฝึกทำบ่อย ง่ายคะ และส่วนตัวชอบงานออกแบบที่เก๋ มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จะทำเป็น2-in-1 ใช้ได้หลายอย่าง ในผืนเดียวกัน เช่น ผ้าพันคอที่มีถุงมือติดกัน สำหรับคนไทยมีฝีมือที่ดี ละเอียดอ่อน เชื่อว่าจะทำได้สวยงามกว่าหลายๆ ชาติ เริ่มต้นกันได้เลย จะได้เป็นอาชีพ สร้างรายได้ ยิ่งดีเลยคะ

และ หมูตั้งม.ล.อรรถดิส ดิสกุล เผย สำหรับแนวแบบผู้ชาย ที่ชอบมากคือเย็บหนัง เป็นเครื่องประดับ ส่วนที่คิดว่าชอบ และพอจะทำได้ คือจะถักเสื้อไหมพรมมอบให้คุณแม่ แทนความรัก หรือถ้าสามารถทำได้อีกหลายๆ ตัว ก็อยากจะบริจาคให้ผู้ที่ขาดแคลน งานประดิษฐ์แบบนี้ คนไทยมีฝีมือมาก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้ง่ายมากครับ สำหรับผม ไอเดียเก๋ ทำเป็นตุ๊กตาไหมพรม ที่ออกแบบพิเศษ และมีจำนวนจำกัด

สำหรับผู้สนใจที่พลาดงานเปิดตัว สามารถร่วมงาน “Workshop Chic & Easy” ได้ที่ บีทูเอส สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ , เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และเซ็นทรัล บางนา โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญ จากภิญญ์ สอนฟรี ถักนิตติ้งผ้าพันคอ หมวก ฯลฯ ตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2554 และสามารถเข้าร่วมโครงการถักหมวกถวายพระสงฆ์ บริจาคได้ที่บีทูเอส ทั้ง 4 สาขา หรือส่งภาพถ่ายตนเองคู่กับผลงานที่จัดทำด้วยผลิตภัณฑ์ภิญญ์ ประกวด “Enjoy Winter Photo Contest” เพื่อรับรางวัลมากมาย รวมมูลค่ากว่า20,000บาท รับสมัครตั้งแต่วันนี้–15 มกราคม 2554 ประกาศผลวันที่ 31 มกราคม 2554 ทางเว็บไซด์ภิญญ์ www.pinn.co.th สอบถามเพิ่มเติมที่ บีทูเอส แผนกประชาสัมพันธ์และกิจกรรมโทร. 0-2101-7133-34 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 16.00 น.

นวัตกรรม

หนังสือส่งเสริมการอ่าน
ความสำคัญและประเภทของหนังสือสำหรับเด็ก
                      หนังสือสำหรับเด็กเป็นหนังสือที่ผลิตขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน  ส่วนประกอบต่างๆของหนังสือ ต้องเหมาะสมกับความรู้และวัยของเด็ก กล่าวคือหนังสือสำหรับเด็ก  หมายถึง  หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กได้อ่านและเรียนรู้จากเนื้อหาสาระที่มุ่งให้ความรู้หรือความเพลิดเพลิน  เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่าน
จุดมุ่งหมาย
                 1.  ช่วยให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
                 2.  ช่วยสร้างจิตนาการ  และความคิดสร้างสรรค์
                 3.  ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็ก
                 4.  ช่วยปลูกฝังคุณธรรมเจตคติและแบบอย่างที่ดี
                 5.  ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียน
ประเภทของหนังสือสำหรับเด็ก
                 ประเภทของหนังสือสำหรับเด็ก  ถ้าครูผู้สอนจะผลิตหนังสื่อสำหรับเด็กขึ้นมาใช้เองจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรู้ว่าประเภทของหนังสือสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง  จะได้สร้างหนังสือได้ตามวัตถุ ประสงค์ในการสร้างหนังสือนั้นๆ  มี  2  ประเภท ได้แก่
                 1.  หนังสือเรียนหรือแบบเรียน  หมายถึง  หนังสือที่กระทรวง ศึกษาธิการ  กำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง  อาจมีลักษณะเป็นหนังสือเล่มเดียวตามกลุ่มรายวิชา  เป็นแผ่นหรือเป็นชุด  คือมีหลายเล่ม  หลายชนิดอยู่ในชุดเดียวกันก็ได้  และอาจมีแบบฝึกหัดประกอบด้วย  เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและแตกฉานในบทเรียน  สำหรับรายวิชาที่เน้นทักษะการปฏิบัติ  มีชื่อเรียกต่างกัน  เช่น  แบบเรียน  หนังสือเรียน  แบบสอนอ่าน  หนังสืออ่าน  และหนังสือประกอบการเรียน  เป็นต้น
                 2.  หนังสือเสริมประสบการณ์  หมายถึง  หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้  ผู้เรียนและผู้สอนใช้ประกอบการเรียนการสอน  แต่มิใช่กำหนดเป็นหนังสือเรียนหรือแบบเรียน  เป็นหนังสือเพื่อการศึกษาความรู้ด้วยตนเอง  เพื่อความเพลิดเพลินซาบซึ้งในคุณค่าภาษา  เพื่อเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน  หรือเพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น  จำแนกออกเป็น  หนังสืออ่านนอกเวลา  หนังสืออ่านประกอบ  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสืออ้างอิง
                      2.1  หนังสืออ่านนอกเวลา  หมายถึง  หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการ  กำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลังสูตร  นอกเหนือจากหนังสือเรียน  สำหรับให้ผู้อ่านนอกเวลาเรียนโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
                      2.2  หนังสืออ่านประกอบ  หมายถึง  หนังสือที่ใช้เสริมหรือเพิ่มเติมประกอบในสาขาวิชาที่เรียน  เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักและคุ้นเคยกับงานเขียนต่างๆ  ได้แนวคิดที่หลากหลายและทันสมัยก้าวหน้า
                      2.3  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หมายถึง  หนังสือที่มีสาระอ้างหลักสูตร  เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองคามความเหมาะสมกับวัย  และความสามารถในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
                      2.4  หนังสือส่งเสริมการอ่าน  หมายถึง  หนังสือที่จัดทำขึ้นมีจุดประสงค์  เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านยิ่งขั้น  อาจเป็นหนังสือประเภทสารคดี          นวนิยาย  นิทาน  ฯลฯ  ที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม  ให้ความรู้มีคติและสาระประโยชน์
                      2.5  หนังสืออ้างอิง  หมายถึง  หนังสือที่ใช้ศึกษาค้นคว้าอ้างอิง  เกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนทางวิชาการที่บางเรื่องมีรายละเอียดไม่เพียงพอ  ผู้เรียนก็จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเอง  จากหนังสืออ้างอิง  เช่น  พจนานุกรม  สารนุกรม  วิทยานิพนธ์

ขั้นตอนการสร้างหนังสือ
1.  คิดโครงเรื่อง
2.  แต่งเรื่อง  แบ่งหน้า และอธิบายภาพประกอบแต่ละหน้า
3.  อ่านเรื่องทบทวน
4.  อ่านเรื่องให้เพื่อนฟัง หรือคนอื่นฟัง
5.  แก้ไขเรื่อง
6.  ลงมือเขียนและวาดภาพประกอบ

ประโยชน์ของการทำหนังสือส่งเสริมการอ่าน
1.  เพื่อให้ครูสามารถผลิตสื่อการอ่านได้เอง เป็นสื่อราคาถูกและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
ชุมชน (โดยครูอาจจะแต่งเรื่อง แล้วให้ผู้เรียนวาดภาพประกอบ หรือถ้าผู้เรียนเขียนหนังสือคล่องก็ให้เขียนแต่งเรื่องเองและวาดภาพประกอบ ก็จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจผลงานของตนเอง)
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าตัวหนังสือ/การเขียนมีความหมายเป็นเรื่องราวสนุกน่าติดตามอ่าน
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่านและเขียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนุกสนานกับการระบายสี สื่ออย่างง่าย ๆ แต่เป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียน เพื่อฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก คุณครูลองดูได้แล้วจะพบความเปลี่ยนแปลงของเด็กแน่นอน