สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรม การทำฝนเทียม

การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน[
สารเคมีที่ใช้ในการทำฝนเทียม
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemical) ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ
  • แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
  • แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride; CaCl2)
  • แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide; CaO)
สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic Chemicals) ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ
  • ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
  • แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
  • น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))
สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นประการเดียว
  • เกลือ (Sodium chloride; NaCl)
  • สารเคมีสูตร ท.1
การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน[2]
http://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น