สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรม

หนังสือส่งเสริมการอ่าน
ความสำคัญและประเภทของหนังสือสำหรับเด็ก
                      หนังสือสำหรับเด็กเป็นหนังสือที่ผลิตขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน  ส่วนประกอบต่างๆของหนังสือ ต้องเหมาะสมกับความรู้และวัยของเด็ก กล่าวคือหนังสือสำหรับเด็ก  หมายถึง  หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กได้อ่านและเรียนรู้จากเนื้อหาสาระที่มุ่งให้ความรู้หรือความเพลิดเพลิน  เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่าน
จุดมุ่งหมาย
                 1.  ช่วยให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
                 2.  ช่วยสร้างจิตนาการ  และความคิดสร้างสรรค์
                 3.  ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็ก
                 4.  ช่วยปลูกฝังคุณธรรมเจตคติและแบบอย่างที่ดี
                 5.  ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียน
ประเภทของหนังสือสำหรับเด็ก
                 ประเภทของหนังสือสำหรับเด็ก  ถ้าครูผู้สอนจะผลิตหนังสื่อสำหรับเด็กขึ้นมาใช้เองจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรู้ว่าประเภทของหนังสือสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง  จะได้สร้างหนังสือได้ตามวัตถุ ประสงค์ในการสร้างหนังสือนั้นๆ  มี  2  ประเภท ได้แก่
                 1.  หนังสือเรียนหรือแบบเรียน  หมายถึง  หนังสือที่กระทรวง ศึกษาธิการ  กำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง  อาจมีลักษณะเป็นหนังสือเล่มเดียวตามกลุ่มรายวิชา  เป็นแผ่นหรือเป็นชุด  คือมีหลายเล่ม  หลายชนิดอยู่ในชุดเดียวกันก็ได้  และอาจมีแบบฝึกหัดประกอบด้วย  เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและแตกฉานในบทเรียน  สำหรับรายวิชาที่เน้นทักษะการปฏิบัติ  มีชื่อเรียกต่างกัน  เช่น  แบบเรียน  หนังสือเรียน  แบบสอนอ่าน  หนังสืออ่าน  และหนังสือประกอบการเรียน  เป็นต้น
                 2.  หนังสือเสริมประสบการณ์  หมายถึง  หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้  ผู้เรียนและผู้สอนใช้ประกอบการเรียนการสอน  แต่มิใช่กำหนดเป็นหนังสือเรียนหรือแบบเรียน  เป็นหนังสือเพื่อการศึกษาความรู้ด้วยตนเอง  เพื่อความเพลิดเพลินซาบซึ้งในคุณค่าภาษา  เพื่อเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน  หรือเพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น  จำแนกออกเป็น  หนังสืออ่านนอกเวลา  หนังสืออ่านประกอบ  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสืออ้างอิง
                      2.1  หนังสืออ่านนอกเวลา  หมายถึง  หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการ  กำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลังสูตร  นอกเหนือจากหนังสือเรียน  สำหรับให้ผู้อ่านนอกเวลาเรียนโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
                      2.2  หนังสืออ่านประกอบ  หมายถึง  หนังสือที่ใช้เสริมหรือเพิ่มเติมประกอบในสาขาวิชาที่เรียน  เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักและคุ้นเคยกับงานเขียนต่างๆ  ได้แนวคิดที่หลากหลายและทันสมัยก้าวหน้า
                      2.3  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หมายถึง  หนังสือที่มีสาระอ้างหลักสูตร  เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองคามความเหมาะสมกับวัย  และความสามารถในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
                      2.4  หนังสือส่งเสริมการอ่าน  หมายถึง  หนังสือที่จัดทำขึ้นมีจุดประสงค์  เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านยิ่งขั้น  อาจเป็นหนังสือประเภทสารคดี          นวนิยาย  นิทาน  ฯลฯ  ที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม  ให้ความรู้มีคติและสาระประโยชน์
                      2.5  หนังสืออ้างอิง  หมายถึง  หนังสือที่ใช้ศึกษาค้นคว้าอ้างอิง  เกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนทางวิชาการที่บางเรื่องมีรายละเอียดไม่เพียงพอ  ผู้เรียนก็จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเอง  จากหนังสืออ้างอิง  เช่น  พจนานุกรม  สารนุกรม  วิทยานิพนธ์

ขั้นตอนการสร้างหนังสือ
1.  คิดโครงเรื่อง
2.  แต่งเรื่อง  แบ่งหน้า และอธิบายภาพประกอบแต่ละหน้า
3.  อ่านเรื่องทบทวน
4.  อ่านเรื่องให้เพื่อนฟัง หรือคนอื่นฟัง
5.  แก้ไขเรื่อง
6.  ลงมือเขียนและวาดภาพประกอบ

ประโยชน์ของการทำหนังสือส่งเสริมการอ่าน
1.  เพื่อให้ครูสามารถผลิตสื่อการอ่านได้เอง เป็นสื่อราคาถูกและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
ชุมชน (โดยครูอาจจะแต่งเรื่อง แล้วให้ผู้เรียนวาดภาพประกอบ หรือถ้าผู้เรียนเขียนหนังสือคล่องก็ให้เขียนแต่งเรื่องเองและวาดภาพประกอบ ก็จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจผลงานของตนเอง)
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าตัวหนังสือ/การเขียนมีความหมายเป็นเรื่องราวสนุกน่าติดตามอ่าน
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่านและเขียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนุกสนานกับการระบายสี สื่ออย่างง่าย ๆ แต่เป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียน เพื่อฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก คุณครูลองดูได้แล้วจะพบความเปลี่ยนแปลงของเด็กแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น