สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)

                   
     หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: E-book) เป็นหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E - book reader) ได้
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป
            ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่รูปแบบของการสร้างและการใช้งาน ดังนี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสือทั่วไป
ไม่ใช้กระดาษ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)
ใช้กระดาษ
สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
มีข้อความและภาพประกอบธรรมดา
สามารถใส่เสียงประกอบได้
ไม่มีเสียงประกอบ
สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update) ได้ง่าย
สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ยาก
สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปยังข้อมูลภายนอกได้
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
มีต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
มีต้นทุนการผลิตสูง
ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ และสั่งพิมพ์ผลได้
สามารถเปิดอ่านจากเล่ม อ่านได้อย่างเดียว
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
สามารถอ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม
สามารถพกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ และสามารถเข้าถึงโดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลา
สามารถพกพาลำบาก และต้องเดินทางไปใช้ที่ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ


เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

            เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ดังนี้

            1.  ฮาร์ดแวร์   คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ปัจจุบันได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะที่พกพาได้ มีรูปทรงขนาด และราคาให้เลือกมากขึ้น โดยใช้กับซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านซึ่งสามารถสั่งซื้อ หรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต

            2.  ซอฟต์แวร์  ซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบที่บริษัทผลิต ส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต เช่น อะโดบี รีดเดอร์ (Adobe Reader), Microsoft Reader, Palm Reader และ DNL Reader เป็นต้น

            3.  ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe FrameMaker, Adobe PageMaker, Adobe InDesign, Adobe Acrobat, Adobe Acrobat Capture, The Read in Microsoft Reader add-in for Microsoft Word, The Palm Ebook, Studio authoring tool, DesktopAuthor, FlipAlbum เป็นต้น

            4.  การจัดการซอฟต์แวร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการควบคุมระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe Content Server 3, Microsoft Digital Asset Server, Palm, Retail Encryption Server Software เป็นต้น

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-book และ E-magazine
        โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
            1. โปรแกรม Flip Album
            2. โปรแกรม Desktop Author
            3. โปรแกรม Flash Album Deluxe       
            ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเปิดเอกสารได้  ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้
            1. โปรแกรม Flip Album โปรแกรมสำหรับอ่านคือ Flip Viewer
            2. โปรแกรม Desktop Authoor โปรแกรมสำหรับอ่านคือ DNL Reader
            3. โปรแกรม Flash Album Deluxe      
       โปรแกรม Flash Album เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำสื่อ e-Book ที่สามารถใส่เนื้อหาและรูปแบบต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถตกแต่ง e-Book ให่สวยงามด้วยลูกเล่นต่างๆ ของโปรแกรมได้อีกด้วย 
   การสร้าง E-book ด้วย Flip Album
            หนังสืออิเล็คทรอนิคส์ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปลักษณ์และเอกลักษณ์ให้หน้าสนใจ อีกทั้ง มีลักษณะคล้ายกับหนังสือจริงๆ โดยเราสามารถสร้าง E-book ได้จากหลายโปรแกรม หนึ่งในนั้นคือโปรแกรม   Flip Album (สามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้จากเว็บไซต์ http:www.flipalbum.com/products/fat/) ซึ่งข้อมูลที่สามารถใส่ลงในโปรแกรม Flip Album ได้ มีทั้งเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งไฟล์วีดีโอ และไฟล์เสียง ดังนั้น ควรจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจัดเก็บรวมกันไว้ใน Folder ที่ต้องการ สร้าง เพื่อความสะดวกในการจัดทำ E-book 
การสร้าง E-book ด้วยโปรแกรมการบริหารจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์
             เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับอ่านบนเว็บ ได้อย่างรวดเร็วด้วยโปรแกรมจัดการหนังสือผ่านเว็บไซต์ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E-Magazine)โดยการนำเข้าไฟล์ในรูปแบบ Acrobat นำเข้าผ่านทางเว็บไซต์ได้ทันที เท่านี้ก็สามารถเผยแพร่ได้แล้ว 
            จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การสร้างหนังสือหรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านได้บนเว็บไซต์ หรือในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับ E-learning มีโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนหลายโปรแกรม แต่ที่ได้รับความนิยม คือ โปรแกรม Lecture Maker และ Flip Album ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนเว็บได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นรูปแบบมัลติมีเดีย ที่นำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และให้ผู้เรียนได้โตตอบ อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานอีกด้วย และที่นิยมมากขณะนี้คือโปรแกรมบริหารจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บในรูปแบบ E-Magazine นั่นเอง รายละเอียดจะกล่าวในโอกาสต่อไป

 ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

            ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ

            1.  มาตรฐานการผลิต  กล่าวคือเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ตลอดจนถึงการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ล้วนมีผลต่อการผลิตเนื้อหา (Content) ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ห้องสมุดในกรณีที่ห้องสมุดดำเนินการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เอง และดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาให้บริการแก่สมาชิก

            2.  มาตรฐานการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต  ได้แก่ ปัญหาทางด้านราคาที่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายที่ใช้เทคโนโลยีที่ต่างชนิดกัน ปัญหาการสืบค้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลังและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลัง ซึ่งอาจมีผลต่อการจัดซื้อสิ่งพิมพ์อีก 1 ชุดเพื่อเย็บรวมเล่มหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระทบต่อการตัดสินใจในการจัดซื้อ และการเตรียมงบประมาณในปีถัดไป

            3.  ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และสิทธิ์ผู้ใช้  ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปในประเด็นนี้ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เช่น การกำหนดสิทธิ์ผู้สามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิง เป็นต้น

 http://th.wikipedia.org/ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น